คำแนะนำ 6 อย่างในการเลือกช่างภาพ พรีเวดดิ้ง (pre-wedding) ของคุณ
ท่านทราบหรือไม่ครับว่าการเตรียมการแต่งงานนั้น ทั้งแสนจะตื่นเต้นและท้าทายไปพร้อมๆกัน ทำไมนะเหรอ? ก็ดพราะว่าคุณมีเรื่องที่จะต้องตัดสินจแบบปัจจุบันทันด่วนในหลายๆเรื่องด้วยเวลาที่จำกัด แถมยังมีค่าใชจ่ายต่างๆมาเกี่ยวข้องด้วยอีกมากมายเลย นี่ยังไม่รวมถึงต้องจัดการเลือกทีมงานช่างภาพ ทีมงานจัดงานแต่งงาน (wedding) สถานที่ ดอกไม้ ตกแต่ง อาหารเครื่องดื่ม แขก และจิปาถะอีกสารพัด เพื่อให้เขาเหล่านั้นเนรมิตงานแต่งและเก็บความทรงจำเหล่านั้นไว้ตลอดไป
หนึ่งในทีมงานที่สำคัญที่สุดก็ทีมงานถ่ายภาพนั่นเองครับ หลายๆคนอาจคิดว่าให้เพื่อนๆถ่ายให้ก็ได้ เพื่อนเราก็มีกล้อง DSLR แพงๆอยู่ตั้งหลายคน ประหยัดเงินไปได้อีก แต่ผมขอแนะนำให้จ้างทีมงานมืออาชีพเถอะครับ เพราะพวกเค้าเหล่านั้นจะสามารถบันทึกภาพเหตุการณืความประทับใจเหล่านี้ไว้ได้อย่าง ครบถ้วนและสวยงาม และมันจะแตกต่างจากมือสมัครเล่นแน่นอนครับ (ทำไมนะเหรอ.....เดี๋ยวมาต่อกันโพสหน้าครับ) ผมมีคำแนะนำสั้นๆมาช่วยให้คุณพิจรณาเลือกช่างภาพของคุณได้ง่ายขึ้นครับ
เพื่อให้ทุกท่านสามารถเลือกช่างภาพที่ตรงกับความต้องการและวิสัยทัศน์ของท่าน ข้อต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านตัดสินใจเปรียบเทียบเปรียบต่างในเรื่องของ สไตล์ ราคา และอื่นๆได้ง่ายขึ้นครับ
ผลงาน (Portfolio)
ผลงานของช่างภาพแต่ละคนจะเป็นเสมือนกับหน้าต่างที่เปิดให้คุณได้เห็นถึง สไตล์ ฝีมือ วิธีการบอกเรื่องราว และแม้กระทั่งเรื่องราวของช่างภาพเอง ข้อควรสังเกตสำหรับการพิจารณาภาพถ่าย (ถ้าคุณอยากจะรู้ละก็นะ) มีดังนี้ Impact, ความถูกต้องทางเทคนิค, ความคิดสร้างสรรค์, การจัดวางภาพ, การนำเสนอ, สีสันของภาพและการเลือกใช้สีในภาพ, จุดเด่นหรือตัวหลักของภาพ, การจัดแสง การใช้แสง, เทคนิคเฉพาะและการบอกเล่าเรื่องราว
ชัวร์ครับเราสามารถให้คะแนนรูปทุกรูปได้ด้วยข้อพิจารณาทั้งหมดที่กล่าวมาตามหลักเกณฑ์เป๊ะๆโดยทั้งนี้แต่ละข้อไม่ได้เรียงตามลำดับความสำคัญใดๆเป็นพิเศษครับ ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบหลักการการพิจรณารูปภาพและพอมีความรู้อยู่บ้างก็ บิงโก เลยละครับ แต่ถ้าหากคุณไม่มีเวลาและความรู้ สักเท่าไหร่ล่ะ มันอาจกลายเป็นเรื่องยุ่งยากปวดหัวเลยหละ
เอาง่ายๆแบบนี้ละกันครับ ทุกๆภาพนั้น เราสามารถให้คะแนนได้ตามกฎเกณฑ์ข้างต้นครับแต่ไม่จำเป็นต้องทุกๆข้อก็ได้ ให้เราเลือกมาเฉพาะข้อที่เราชอบที่สุดซัก 4-5 ข้อก็พอเช่น คุณอาจชอบภาพที่มีสีสันโดเด่น การจัดวางภาพ ความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ของภาพ (Impact) จากนั้นก็ลองให้คะแนนภาพต่างๆของช่างภาพที่พิจรณาอยู่ว่าแบบไหน คนไหน ได้คะแนนมากที่สุด
แน่นอนครับ ช่างภาพแต่ละคนย่อมต้องเลือกเอาภาพผลงานออกมาโชว์ใน portfolio เป็นส่วนมากอยู่แล้ว ดูภาพเหล่านั้นจากใน portfolio และแกลเลอรีของช่างภาพนั้นๆแล้ว ลองถามตัวเองดูว่าถ้าหากรูปแต่งงาน รูปพรีเวดดิ้งของคุณเป็นแบบนั้นแล้วคุณจะชอบมากขนาดไหน จะดีแค่ไหนถ้าเรามีรูปพรีเวดดิ้งแบบนั้นบ้าง
ในขณะที่คุณกำลังมองหาช่างภาพดีๆซักคนเพื่อถ่ายภาพในวันสำคัญของคุณแล้ว นี่ก็เป็นช่วงเวลาที่ดีที่คุณจะเช็คว่าแฟนของคุณชอบสไตล์ภาพแบบไหนไปด้วยครับ ลองพูดคุย ดูตัวอย่างภาพผลงานจากหลายๆที่ด้วยกันเพื่อจะได้หาช่างภาพที่มีสไตล์การถ่ายภาพในแบบที่คุณทั้งชอบใจนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความติสต์ของภาพ สีสัน เรื่องราวและคุณภาพ
วันนี้ผมก็ขอสรุปสั้นๆเกี่ยวกับ สไตล์การถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง (pre-wedding) และเวดดิ้ง (wedding) แบบสั้นๆว่ามีประมาณกี่แบบ อย่างไรบ้างดังนี้ครับ
- Traditional: อันนี้เป็นแบบคลาสสิกที่เห็นกันได้ทั่วไป อย่างในกรณี พรีเวดดิ้ง (pre-wedding) ก็จะเป็นการถ่ายในสตูดิโอ ชุดไทยมีฉากหลังเป็น เป็นบ้านโบราณ ห้องสมุด บ่าวสาวยืนคู่กันมองกล้องแล้วยิ้มทำนองนี้
- Photojournalistic: สไตล์นี้จะเป็นถ่ายที่ไม่มีการจัดฉาก ท่าทางให้บ่าวสาวแต่จะเป็นการถ่ายภาพที่เป็นธรรมชาติและตัวตนของบ่าสาวจริงๆ ภาพสไตล์นี้จะสามารภสื่อสารอารมณ์ของภาพออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม บอกเรื่องราวและมีความเป็นตัวตนของคนในภาพสูงมากๆ ช่างภาพในแนวนี้จะสามารถหาจังหวะในการเก็บ โมเมนต์ได้อย่างดี สามารถปะปนไปกับผู้คนในงานโดยไม่เป็นที่โดดเด่นแต่อยู่ในเหตุการณ์ต่างๆตลอด คล้ายๆกับนักข่าวครับ
- Portraiture: สไตล์นี้จะเป็นการถ่ายแบบมีการจัดท่าทาง ตำแหน่งยืนต่างๆ ว่าถ่ายตรงไหน อย่างไร กับใคร ภาพในงานควรจะมีรูปตรงไหนบ้าง กับใครบ้าง โดยส่วนใหญ่แล้วผมว่าช่างภาพก็จะเริ่มจากการถ่ายแบบนี้ก่อน แล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปถ่ายในสไตล์ที่ถนัดทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ภาพแบบมาตรฐานกับบุคคลสำคัญเสียก่อนจึงค่อยเริ่มถ่ายแบบครีเอทีฟมากขึ้น
- Illustrative: สไตล์นี้จะเห็นมากในการถ่ายพรีเวดดิ้ง (pre-wedding) เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายแบบ Traditional กับ Photojournalistic ที่เน้นเรื่องของการจัดวางภาพ การจัดแสงและฉากหลังที่สวยงาม ตัวอย่างง่ายๆก็เช่นการถ่ายพรีเวดดิ้ง (pre-wedding) เอาท์ดอร์ที่มีฉากหลังสวยๆ ตามทุ่งหญ้า ทะเล รีสอร์ท มีการจัดท่าทาง เครื่องแต่งกาย มีการใช้แฟลชและอุปกรณ์ต่างๆเข้ามาช่วยเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม แน่นอนครับภาพในสไตล์นี้เป็นที่นิยมมากเพราะให้ความรู้สึกแบบ candid สบายๆแต่มีการควบคุมทางเทคนิคที่ดีเพื่อคุณภาพสูงสุด ไม่แปลกใจเลยครับที่ช่างภาพมือฉมังทั้งหลายรวมทั้ง PhruksaphopSPhotography และบ่าวสาวจึงได้ชอบการถ่าย พรีเวดดิ้ง (pre-wedding) สไตล์นี้เป็นอย่างมาก
- Natural Light: ถ่ายแบบใช้แสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียว สไตล์นี้ถือว่าเป็นสไตล์ที่ให้ภาพออกมาสวยงามมากที่สุดสไตล์นึงเลยครับ ภาพจะมีความนุ่มนวล อบอุ่นและเป็นธรรมชาติมากๆ ซึ่งช่างภาพที่จะถ่ายด้วยแสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวให้ออกมาสวยสุดๆได้นั้นจะต้องมีฝีมือและทักษะในเรื่องของแสงเป็นอย่างดีทีเดียวครับ เพราะเหตุนี้เอง PhruksaphopSPhotography ถึงได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการจัดแสง คุณภาพของแสง เวลาซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของภาพถ่ายสวยๆที่ท่านเห็นกันนี่แหละครับ
เอาหละครับถึงตอนนี้หากคุณรู้แล้วว่าภาพถ่ายในสไตล์ไหนที่คุณทั้งสองชื่นชอบเป็นพิเศษก็ให้โฟกัสไปที่ช่างภาพที่มีความถนัดเก่งกาจในสไตล์นั้นๆได้เลย คำถามที่คุณต้องถามตัวเองก็คือ "คุณอยากให้ภาพพรีเวดดิ้ง (pre-wedding) และภาพงานแต่งงานของคุณออกมาเป็นแบบไหน?"
เมื่อคุณได้ลิสต์ของช่างภาพที่มีสไตล์การถ่ายภาพที่ตรงกับใจของคุณทั้งสองแล้วก็ถึงเวลาที่จะติดต่อพวกเค้าแล้วล่ะครับ อาจเริ่มจากการโทรไปพูดคุยสอบถาม หรืออีเมล์ เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้ผมแนะนำว่าหากดูจากผลงานในเว็บไซต์แล้ว ได้พูดคุยในเบื้องต้นแล้ว การนัดเจอกันเพื่อดูผลงานเพิ่มเติมหรือคุยการในรายละเอียดให้เป็นเรื่องเป็นราวนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากๆครับ นอกจากจะได้ประโยชน์จากรายละเอียดต่างๆที่เพิ่มขึ้นแล้วยังได้ทำความรู้จักกับช่างภาพคนนั้นไปด้วยครับ ว่าเค้าเป็นอย่างไร มีนิสัยใจคอแบบไหน เพราะว่าถ้านี่คือช่างภาพของเราล่ะก็เราจะต้องอยู่กับเค้าไปจนจบงานเลยเลยนะครับ เรียกว่าภาพความทรงจำต่างๆของเรานี่ฝากความหวังไว้ให้เค้าเลยทีเดียว หากเราสามารถเข้ากับเค้าได้ดีการถ่ายภาพก็จะราบรื่นขึ้นส่งผลให้ได้ภาพสวยๆด้วยครับ
หากทางช่างภาพมีการเสนอโฟโต้บุค หรือภาพปรินท์ต่างๆก็อย่าลืมถามให้เอาตัวอย่างโฟโต้บุคไปด้วยครับว่ามันเป็นยังไง ขนาดใหญ่แค่ไหน กระดาษที่ใช้มีคุณภาพแค่ไหน สีภาพที่ปรินท์ออกมาดีแค่ไหน เรื่องนี้ต้องเช็คครับเพราะว่าหลายๆครั้งที่บอกว่ามีในแพกเกจนั้นอาจเป็นของที่เกรดไม่ดีเท่าไหร่ แค่แถมมาเพื่อให้ดูคุ้มค่า ล่อตาล่อใจเท่านั้นเอง เวลาที่เราดูภาพจากในโฟโต้บุค มันจะให้คสามรู้สึกที่ดีมากๆแตกต่างจากที่เราดูในมือถือหรือว่าในจอคอมพิวเตอร์เลยครับ ดังนั้นการดูภาพผลงานในโฟโตบุคนี่จะช่วยให้คุณตัดสินใจ ว่าคุณเองอยากจะมีอัลบั้มภาพของตัวเองเก็บไว้หรือเปล่า (ส่วนใหญ่เมื่อได้เจอกับโฟโต้บุคของเราแล้ว--Yes! ทุกคนครับ)
หากว่าคุณยังไม่แน่ใจว่าช่างภาพคนไหนกันที่คุณอยากให้ถ่ายภาพให้นั้น ให้ลองดูว่าภาพถ่ายของแต่ละคนนั้นทำให้คุณรู้สึกยังไง บ่าวสาว คู่รักในภาพนั้นผ่อนคลายเป็นธรรมชาติหรือไม่
บุคลิกของช่างภาพ (Personality)
ถึงตอนนี้คุณก็ได้ลิสต์ของช่างภาพที่เข้าตามาแล้ว คุณได้พุดคุยสอบถามเบื้องต้นแล้ว เช็คว่าช่างภาพนั้นยังไม่มีคิวในอื่นวันของคุณแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่จะเจอกับช่างภาพตัวเป็นๆเหมือนที่ได้แนะนำไปแล้วล่ะครับ
บุคลิกภาพและการวางตัวของช่างภาพนั้นมีความสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ อืมเข้าใจครับมันอาจจะดูไม่ค่อยเกี่ยวแถมไม่มีเครื่องมืออะไรจะมาช่วยชี้วัดด้วยสิ อย่าลืมนะครับว่าตัวช่างภาพเองก็มีส่วนสำคัญในการสร้างอารมณ์และบรรยากาศของงาน ซึ่งสุดท้ายจะถ่ายทอดออกมาในภาพถ่าย ลองนึกดูครับว่าถ้าคุณได้ช่างภาพหน้าบูดอารมณ์ไม่ดี พูดจาไม่ดี แต่งตัวไม่มีกาละเทศะ มันจะแย่แค่ไหนถ้าเค้าจะถ่ายรูปให้เราทั้งวันแบบนั้น ถ่ายไปด้วยความไม่สนุก แล้วเราจะยิ้มออกได้ยังไง ไม่มีความสุข ยิ้มไม่ออก แล้วภาพมันจะสวยได้ยังไง ในทางกลับกันถ้าช่างภาพอารมณ์ดี พูดจาดี เป็นกันเอง เข้ากันได้เหมือนเป็นเพื่อนของเราคนนึง มันจะยอดเยี่ยมแค่ไหน แค่นึกก็สนุกแล้วครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นการได้เจอกับช่างภาพตัวเป็นๆก็จะช่วยให้เราประเมิณได้ว่า เค้าเป็นยังไงและมันจะเวิร์คหรือเปล่า
อีข้อหนึ่งก็คือหากคุณติดต่อกับสตูดิโอใหญ่ๆ ก็เป็นไปได้มากว่าเค้าจะมีช่างภาพในสังกัดหลายคน ยกเว้นว่าคุณระบุในสัญญาว่าจะเอาช่างภาพคนนี้ ช่างภาพที่คุณได้เจอกับช่างภาพที่มาถ่ายให้คุณจริงๆอาจจะเป็นคนละคนกันได้ครับ ซึ่งช่างภาพแต่ละคนก็มีสไตล์และบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไป ดังนั้นต้องระบุไปเลยครับว่าช่างภาพที่คุยกับคุณเป็นคนเดียวกับที่จะถ่ายรูปให้คุณ
เมื่อคุณได้พูดคุยสอบถาม และอธิบายเกี่ยวกับ งานแต่งของคุณว่าเป็นแบบไหน อยากได้ภาพแบบไหน ช่างภาพคนนั้นเค้าตื่นเต้น สนใจกับคำอธิบายของคุณหรือเปล่า เค้าแนะนำอะไรอย่างไรมั้ยถ้าแนะนำคุณว่าคำแนะนำของเค้าเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วก็คงต้องถามความรู้สึกของตัวเองล่ะครับว่าช่างภาพท่านนั้น ใช่หรือเปล่า?
(ความเป็นมืออาชีพ) Professionalism
ความเป็นมืออาชีพ จะให้คะแนนยังไงดีล่ะ? คุณต้องการช่างภาพที่อยู่ด้วยแล้วคุณและแขกในงาน ไม่รู้สึกอึดอัดในขณะที่เค้ากำลังเก็บภาพต่างๆในงาน ช่างภาพจะต้องตามบ่าวสาวไปในทุกๆย่างก้าว ดังนั้นหากคุณกับช่างภาพของคุณเข้ากันได้ดีมากแค่ไหน ภาพก็จะออกมาดูดีมากแค่นั้น และคุณก็ไม่ต้องการช่างภาพที่เดินมาบังแขกหรือทำให้แขกรู้สึกรำคาญ ตรงกันข้ามคุณอยากได้ช่างภาพที่ทำงานได้อย่างกลมกลืนกับสถานการณ์โดยไม่เป็นที่รบกวน
ผมเชื่อว่าช่างภาพเองก็ควรแต่งตัวให้สอดคล้องกับ dress code ในวันงานของคุณด้วยเช่นกันเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดช่างภาพควรแต่งตัวให้กลมกลืนเสมือนเป็นแขกคนหนึ่ง เพื่อจะได้สามารถเก็บภาพโมเมนต์ที่สำคัญได้โดยไม่รบกวนแขกในงาน แน่นอนครับจะได้รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และภาพอารมณ์เด็ดๆสวยๆมาแน่นอน
สิ่งที่มืออาชีพมีก็คือความรับผิดชอบครับ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อได้รับงานไปแล้วก็ต้องทำงานและส่งมอบงานนั้นๆให้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ครับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการตรงเวลา นัดไว้แล้วลูกค้าจ่ายเงินมาแล้วก็ต้อง มาตามนัดจะมายกเลิกไม่ได้ ส่งงานตรงตามเวลาที่ได้พูดคุยกันมาแล้ว และที่สำคัญคุณภาพต้องได้ตามที่ได้บอกกับลูกค้าไป บ้านเราจะมีปัญหาในเรื่องช่างภาพบางคนที่ไม่มีความรับผิดชอบให้ได้เห็นบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผิดนัด ไม่ตรงต่อเวลา ส่งงานช้า ทำไฟล์หาย ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆครับสำหรับทุกอาชีพโดยเฉพาะช่างภาพ ทาง PhruksaphopSPhotography เราได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษครับ เรามีวิศัยทัศน์ที่ว่าชื่อเสียงเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าการขายครับ
ช่างภาพบางคนเป็นสมาชิกที่รับรองโดยองค์กรการถ่ายภาพต่างๆซึ่งก็ถือว่ามีเครดิตที่ดีครับ การรับรองเป็นสมาชิกขององค์กรที่ได้มาตรฐานก็ช่วยสนับสนุนและบ่งบอกถึงคุณภาพและมาตรฐานของช่างภาพได้อีกทางหนึ่ง
การวางแผน (Planning)
สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าทำให้ช่างภาพที่ยอดเยี่ยมแตกต่างจากช่างภาพอื่นๆก็คือการวางแผนในการทำงาน เช่นการไปดูสถานที่จัดงานหรือถ่ายภาพล่วงหน้าก่อนวันจริง เพื่อให้รู้ถึงมุมต่างๆ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขเป็นต้น เมื่อถึงวันถ่ายจริงปัญหาต่างๆก็ได้ถูกแก้ไขหรือเตรียมการแก้ไขล่วงหน้าเอาไว้แล้วนั่นเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือรายชื่อของบุคคลที่ท่านอยากให้ช่างภาพเก็บภาพในช่วงเวลาสำคัญเอาไว้ เช่นญาติผู้ใหญ่ แขกวีไอพี รวมไปถึงราบชื่อว่าอยากมีรูปหมู่ของคนกลุ่มไหนบ้าง ครอบครับเจ้าบ่าว ครอบครัวเจ้าสาว กลุ่มเพื่อนมัธยม กลุ่มเพื่อนหมาวิทยาลัย เป็นต้น การมีรายชื่อต่างๆเตรียมเอาไว้นั้นจะทำให้ในวันงานจริงนั้นไม่ตกหล่นหลงลืมคนสำคัญของท่านไปทั้งยังช่วยให้การจัดการง่ายขึ้นอีกด้วย ช่างภาพของท่านได้มีคำแนะนำหรืออะไรที่ช่วยท่านจัดการกับเรื่องเหล่านี้หรือเปล่า?
ราคา (Package Pricing)
ราคาเท่าไหร่และคุณมีงบประมาณเท่าไหร่คงยังไม่สำคัญครับหากคุณยังไม่รู้ว่าคุณต้องการบริการแบบไหน คุณมองหาอะไรจากรูป พรีเวดดิ้ง (pre-wedding) รูปวันแต่งงาน (wedding) ของคุณ?
อย่าไปเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายครับ เห็นมาเยอะแล้วครับที่บางคนประหยัดเลยตัดสินใจให้เพื่อนถ่ายให้ หรือจ้างตากล้องมือสมัครเล่นในราคาถูกมาถ่ายให้ในวันสำคัญของคุณ สุดท้ายก็รู้สึกเสียดายว่าไม่น่าเลย รูปที่ได้ไม่สวยเลยเป็นเหตุการณ์สำคัญแค่ครั้งเดียวในชีวิตด้วย ง่ายๆครับ จ้างช่างภาพหลักๆก็ดูที่ผลงานครับว่าเป็นไปในแบบที่เราต้องการหรือเปล่าตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แลวราคาก็ตามนั้นแหละครับ มันก็เหมือนกับอย่างอื่นในชีวิตแหละครับ ถูกและดีจริงๆไม่มีในโลกหรอกครับ ฝรั่งเค้าบอกว่า "you’ll get what you paid for"
ราคาของแพกเกจก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น:
- ค่าเดินทางของทีมงาน
- เวลาในการถ่าย ชั่วโมง เต็มวัน ครึ่งวัน
- ฝีมือและประสบการณ์ของช่างภาพ (ส่วนตัวแล้วผมมองว่าข้อนี้สำคัญที่สุดและมีผลต่อราคาที่สุด)
- มีช่างภาพและ/หรือทีมงานกี่คน
- อุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกล้อง เลนส์ แฟลช ไฟต่างๆที่ใช้ในงาน
- ปริมาณและคุณภาพในการปรับแต่งภาพ
อย่าลืมนะครับว่าช่างภาพก็ถือเป็นศิลปินเหมือนกันครับ ผมคิดว่าค่าจ้างที่เค้าเรียกมันคือค่า "ฝีมือความสามารถและความคิดสร้างสรรค์" ของเค้าครับ ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้จริงมั้ยครับ ไม่งั้นก็แค่ซื้อกล้องมาซักตัวให้เพื่อน กดๆๆให้ก็ได้ภาพสวยๆเหมือนกัน (ซึ่งถ้าเป็นอย่างงั้นคุณก็คงไม่มานั่งหาช่างภาพกันหรอกครับ :) ) แถมนอกจากฝีมือแล้ว เค้าก็มีต้นทุนที่สูงอีกครับ กล้องดีๆเลนส์ดีๆรวมๆก็ว่ากันเป็นหลักแสน คอมพิวเตอร์และโปรแกรมแต่งภาพก็ไม่ใช่ราคาถูกๆครับ ไหนจะต้องมานั่งแต่งภาพกันเป็นร้อยๆภาพอีกเพื่อส่งให้ทันกำหนดเวลา อืมมมม ใจเขาใจเราครับ
เวลาดูรายละเอียดแพกเกจก็ต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ดีๆครับ ว่าเราได้อะไรบ้าง เท่าไหร่ยังไง ในแพกเกจมีอะไรบ้าง เช่นได้กี่รูป มีช่างแต่งหน้าให้หรือเปล่า ช่างภาพคือใคร เป็นต้น ต้องคุยกันให้เรียบร้อยครับ จะได้ไม่ผิดหวังกันทีหลัง ไม่แน่ในไม่เข้าใจอะไรก็ให้ถามให้เคลียร์ครับเพื่อความสบายใจ อีกครั้งครับ อ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดให้ดีครับ ส่วนใหญ่จะมีข้อมูลในเว็บไซต์อยู่แล้วครับ
การแต่งภาพ (Post Production)
ถึงการแต่งภาพจะอยู่ท้ายตารางก็ไม่ได้แปลว่ามันสำคัญน้อยที่สุดนะครับ แต่เป็นเพราะจริงๆแล้วมันทำให้ช่างภาพมืออาชีพแตกต่างจากมือสมัครเล่นเลยแหละครับ
โดยทั่วไปช่างภาพมืออาชีพแบบเราอาจใช้เวลาถึงหนึ่งเดือนหรือมากกว่าในการส่งผลงาน เพราะพวกเราต้องการส่งมอบงานด้วยคุณภาพสูงสุดให้กับลูกค้าไงล่ะครับ แน่นอนครับรูปนับร้อยๆจะต้องผ่านการตรวจเช็ค ตกแต่งต่างๆทั้งเรื่องของการปรีบแต่งสี แต่งแสง รีทัชผิว หรืออื่นๆซึ่งแต่ละรูปก็อาจกินเวลามากทีเดียวครับ คำถามที่ท่านควรถามช่างภาพก็คือโดยปกติแล้วก่อนส่งมอบงานให้กัยลูกค้า ช่างภาพท่านนั้นมีการตกแต่งภาพอย่างไรบ้างโดยสังเขป มีการตกแต่งภาพแบบที่เป็นเอกลักษณ์อย่างไบ้าง แต่งแบบละเอียดให้กี่รูป คิดค่าแต่งแบบละเอียดเพิ่มให้หรือไม่อย่างไร
ช่างภาพบางคนก็อาจมรแพกเกจที่รวมอัลบั้มภาพหรือโฟโต้บุค ภาพปรินท์ขนาดใหญ่พร้อมกรอบ หรือบางคนอาจแค่ส่งไฟล์ดิจิตอลให้ทาง DVD หรือ thumb drive เท่านั้น ถ้าหากท่านชื่นชอบในสิ่งที่ช่างภาพของท่านบริการให้ก็อย่าลืมเข้าไปเขียนรีวิวทางอินเตอร์เน็ตให้พวกเค้าด้วยครับ เพื่อแบ่งปันความประทับใจในบริการที่ช่างภาพท่านนั้นๆได้ทำให้และเป็นการแบ่งปันให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวคุ่อื่นๆได้รู้ด้วยว่า เค้าเองก็จะได้รับบริการอย่างไรในแบบเดียวกับเราบ้าง เพื่อช่วยในการตัดสินใจเช่นกันครับ
แน่นอนครับสุดท้ายแล้วการตัดสินใจเลือกช่างภาพและแพกเกจการถ่ายรูป พรีเวดดิ้ง (pre-wedding) เวดดิ้ง (wedding) นั้นก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของท่านว่าสิ่งที่ท่านจะได้เทียบกับราคานั้นคุ้มค่าแค่ไหน คงไม่ไมีใครตัดสินใจแทนได้นอกจากตัวคุณเองครับ เพราะแต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน ลำดับความสำคัญในแต่ละเรื่องก็แตกต่างกัน ดังนั้นเราหวังว่า บทความนี้จะช่วยเป็นข้อมูลให้ท่านตัดสินใจหาช่างภาพที่ต้องการได้ครับ
ทาง PhruksaphopSPhotography ขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับท่านด้วยครับ